แบบแผนการจัดการเรียนรู้



แบบแผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์                                                                                                รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน

หน่วยการเรียนรู้ ทศนิยมและเศษส่วน                                                                        เรื่อง การบวกทศนิยม

จำนวน ๑ ชั่วโมง                                                                                                          ปีการศึกษา ๑ / ๒๕๕๗

 


มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

                   มาตรฐาน ค ๑.๒  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา

ตัวชี้วัด

                   บวก ลบ คูณ หารเศษส่วนและทศนิยม และนำไปใช้แก้ปัญหาตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ อธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการบวก การลบ การคูณ การหาร และบอกความสัมพันธ์ของการบวกกับการลบ การคูณกับการหารของเศษส่วนและทศนิยม (ค ๑.๒ ม.๑/๒)

สาระสำคัญ

การบวกทศนิยมใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการบวกจำนวนเต็ม  ดังต่อไปนี้

1.การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวก  ให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน  แล้วตอบเป็นจำนวนบวก

2.การบวกทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบ  ให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนลบ

3.การบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นบวกกับทศนิยมที่เป็นลบ  ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า  แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือจำนวนลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

4.การบวกทศนิยมตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ยังมีสมบัติการบวกเช่นเดียวกับสมบัติการบวกจำนวนเต็มอีกด้วย  ได้แก่  สมบัติการบวกด้วยศูนย์  สมบัติการสลับที่  และสมบัติการเปลี่ยนหมู่

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

                   ด้านความรู้

อธิบายวิธีการบวกทศนิยมได้

บวกทศนิยมได้

                   ด้านทักษะกระบวนการ

สามารถแก้โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยมได้

                   ด้านคุณลักษณะ

ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ

 

สาระการเรียนรู้

                   การบวกทศนิยม

กิจกรรมการเรียนรู้

                   นำเข้าสู่บทเรียน/ทบทวนความรู้เดิม

-                   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน

-                   ครูแจกบัตรโจทย์ทศนิยม 2 ตำแหน่งให้นักเรียนกลุ่มละ 1 ใบ

-                   ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันบวกเลขทศนิยม 2 ตำแหน่งจากบัตรที่ครูแจกให้

-                   นักเรียนกลุ่มไหนบวกเสร็จแล้วให้ส่งตัวแทนกลุ่มออกมาแสดงวิธีทำบนกระดาน

                   สอนเนื้อหาใหม่

-                   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มยกตัวอย่างโจทย์ทศนิยม 3 ตำแหน่ง พร้อมแสดงวิธีทำแล้วส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอบนกระดาน

                   สรุป/สรุปเป็นวิธีลัด

-                   ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปว่าการบวกเลขทศนิยม 3 ตำแหน่ง มีหลักเกณฑ์เดียวกันกับการบวกเลขทศนิยม 2 ตำแหน่ง

                   ฝึกทักษะ

-                   ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือ

                   นำไปใช้

-                   ครูตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางให้นักเรียนคิดจนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้

                   ประเมินผล

-                   ถือเกณฑ์ผ่านจากการสังเกตพฤติกรรมผู้ที่มีความสนใจในการเรียนและตอบคำถาม

-                   ถือเกณฑ์ผ่านสำหรับผู้ทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง 70 %

-                   ถือเกณฑ์ผ่านสำหรับผู้ที่ทำโจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง  70 %

 สื่อและแหล่งการเรียนรู้

1.        หนังสือประกอบการเรียน

2.        แบบฝึกหัด

3.        บัตรโจทย์

  การวัดผล          

1. สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจในการทำแบบฝึกหัด 

           2. ตรวจโจทย์ปัญหา

  3. ตรวจแบบฝึกหัด

                  

 

บันทึกผลหลังการเรียนรู้

1.             ผลการสอน  ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

2.             ปัญหา  / อุปสรรค  ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

3.             แนวทางแก้ไข  ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                                                                   

                                                                                                                   

                                                                                                 (ลงชื่อ) ..................................................... ผู้สอน

                                                                                                     (.................................................................)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น